วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12





บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 26 เมษายน  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.



โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

 (Individualized Education Program)




แผน IEP

     •  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
     •  เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
     •  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP

       •  คัดแยกเด็กพิเศษ
       •  ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
       •  ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
       •  เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
       •  แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

       •  ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
       •  ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
       •  การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
       •  เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
       •  ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
       •  วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก

       •  ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
       •  ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
       •  ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
       •  ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

      •  เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
      •  เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
      •  ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
      •  เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
      •  ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

      •  ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
      •  ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
      •  เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

      1. การรวบรวมข้อมูล 
              •  รายงานทางการแพทย์
              •  รายงานการประเมินด้านต่างๆ
              •  บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
      2. การจัดทำแผน 
              •  ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
              •  กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
              •  กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
              •  จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

            การกำหนดจุดมุ่งหมาย

                  •  ระยะยาว
                  •  ระยะสั้น

            จุดมุ่งหมายระยะยาว 

                  •  กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
                         –  น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
                         –  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
                         –  น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

            จุดมุ่งหมายระยะสั้น

                   •  ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
                   •  เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
                   •  จะสอนใคร
                   •  พฤติกรรมอะไร
                   •  เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
                   •  พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

                         •  ใคร                                               มุก
                         •  อะไร                                             กระโดดขาเดียวได้
                         •  เมื่อไหร่ / ที่ไหน                           กิจกรรมกลางแจ้ง
                         •  ดีขนาดไหน                                  กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง

                                                                                   ในเวลา 30 วินาที


      3. การใช้แผน

               •  เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
               •  นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
               •  แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
               •  จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
               • ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
                         1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
                         2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
                         3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

      4. การประเมินผล

               •  โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
               •  ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


                             ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม

                                                     อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


                
                       การจัดทำ IEP





ทักษะ (Skills)

           -  การสังเคราะห์ข้อมูลความรู้
           -  การคิดและวิเคราะห์
           - การตั้งคำถามและตอบคำถาม
           - ประเมินความรู้ที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้ (Application)

          การเรียนในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเพื่อเป็นแบบบการจัดห้องเรียนแบบต่างๆในเหมาะสมกับเด็ก
เทคนิคการสอน (Technical Education)

          -  อาจารย์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนกาารสอน
          -  อาจารย์ใช้คำถาม ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อการกระตุ้นให้เด็กเกิดการตื่นตัวอยู่เสมอ
          -  ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

การประเมิน (Evaluation)

Self  :  จดบันทึกตามความรู้ที่ได้รับ และร่วมตอบคำถามในชั้นเรียน

Friends  : ร่วมกันตอบคำถาม สนใจในบทเรียน  ให้ความร่วมมือเมื่ออาจารย์ถามคำถาม

Teacher  : สอนตรงประเด็นการศึกษา และเข้าใจง่าย ตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมสำหรับแผนการสอนมาล่วงเป็นอย่างดี









บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11




บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.




การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



      •  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
      •  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
      •  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

   1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา

       
•  เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
       •  เกิดผลดีในระยะยาว
       •  เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
       •  แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
       •  โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน 

   2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม

      •  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
      •  การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
      •  การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

   3. การบำบัดทางเลือก

      •  การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
      •  ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
      •  ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
      •  การฝังเข็ม (Acupuncture)
      •  การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

      •  การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
      •  โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
      •  เครื่องโอภา (Communication Devices)
      •  โปรแกรมปราศรัย

          Picture Exchange Communication System (PECS)




บทบาทของครู

      •  ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
      •  ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
      •  จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
      •  ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม

      •  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
      •  การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

           กิจกรรมการเล่น 
               •  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
               •  เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
               •  ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง 
           ยุทธศาสตร์การสอน

               •  เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
               •  ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
               •  จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
               •  ครูจดบันทึก
               •  ทำแผน IEP  

           การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

               •  วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
               •  คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
               •  ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
               •  เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

         ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

               •  อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
               •  ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
               •  ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
               •  เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
               •  ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

         การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

              •  ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
              •  ทำโดย “การพูดนำของครู”

         ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์

              •  ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
              •  การให้โอกาสเด็ก
              •  เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
              •  ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

2. ทักษะภาษา

     การวัดความสามารถทางภาษา

           •  เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
           •  ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
           •  ถามหาสิ่งต่างๆไหม
           •  บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
           •  ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

      การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด

           •  การพูดตกหล่น
           •  การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
           •  ติดอ่าง  

      การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

           •  ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
           •  ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
           •  อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
           •  อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
           •  ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

      ทักษะพื้นฐานทางภาษา

          •  ทักษะการรับรู้ภาษา
          •  การแสดงออกทางภาษา
          •  การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

      พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


      พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก



      ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย


             •  การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
             •  ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
             •  ให้เวลาเด็กได้พูด
             •  คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
             •  เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
             •  เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
             •  ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
             •  กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
             •  เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
             •  ใช้คำถามปลายเปิด
             •  เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
             •  ร่วมกิจกรรมกับเด็ก  

การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)



3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

                                    เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
                                                            การกินอยู่
                                                        การเข้าห้องน้ำ
                                                           การแต่งตัว
                                          กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน


      การสร้างความอิสระ

           •  เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
           •  อยากทำงานตามความสามารถ
           •  เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

      ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

           •  การได้ทำด้วยตนเอง
           •  เชื่อมั่นในตนเอง
           •  เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

      หัดให้เด็กทำเอง  

          •  ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
          •  ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
          •  ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
          •  “ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”

      จะช่วยเมื่อไหร่

          •  เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
          •  หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
          •  เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
          •  มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

      ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)


      ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)



      ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)


      ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)


      ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

            •  แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
            •  ย่อยงาน
            •  เรียงลำดับตามขั้นตอน

      การเข้าส้วม

           •  เข้าไปในห้องส้วม
           •  ดึงกางเกงลงมา
           •  ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
           •  ปัสสาวะหรืออุจจาระ
           •  ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
           •  ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
           •  กดชักโครกหรือตักน้ำราด
           •  ดึงกางเกงขึ้น
           •  ล้างมือ
           •  เช็ดมือ
           •  เดินออกจากห้องส้วม

      การวางแผนทีละขั้น

            •  แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



      สรุป

      •  ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
      •  ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
      •  ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
      •  ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
      •  เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

      เป้าหมาย

           •  การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
           •  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
           •  เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
           •  พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
           •  อยากสำรวจ อยากทดลอง

      ช่วงความสนใจ

           •  ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
           •  จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

      การเลียนแบบ 
              การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
                   •  เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
                   •  เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
                   •  คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

              การรับรู้ การเคลื่อนไหว 

                                                      •  ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น 
          
                                                        •  ตอบสนองอย่างเหมาะสม

      การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

            •  การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
            •  ต่อบล็อก
            •  ศิลปะ
            •  มุมบ้าน
            •  ช่วยเหลือตนเอง

      ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

            •  ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
            •  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

      ความจำ
           •  จากการสนทนา
           •  เมื่อเช้าหนูทานอะไร
           •  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
           •  จำตัวละครในนิทาน
           •  จำชื่อครู เพื่อน
           •  เล่นเกมทายของที่หายไป

      การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

           •  จัดกลุ่มเด็ก
           •  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
           •  ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
           •  ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
           •  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
           •  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
           •  บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
           •  รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
           •  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
           •  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง


ทักษะ (Skills)

           -  การสังเคราะห์ข้อมูลความรู้
           -  การคิดและวิเคราะห์
           - การตั้งคำถามและตอบคำถาม
           - ประเมินความรู้ที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้ (Application)

          การเรียนในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมอันพึงประสงค์ให้แก้เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เสริมสร้างให้เขาเป็นบุลคลที่ไม่เป็นภาระของสังคม และช่วยเหลือตัวเองได้
เทคนิคการสอน (Technical Education)

          -  อาจารย์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนกาารสอน
          -  อาจารย์ใช้คำถาม ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อการกระตุ้นให้เด็กเกิดการตื่นตัวอยู่เสมอ
          -  ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

การประเมิน (Evaluation)

Self  :  จดบันทึกตามความรู้ที่ได้รับ และร่วมตอบคำถามในชั้นเรียน

Friends  : ร่วมกันตอบคำถาม สนใจในบทเรียน  ให้ความร่วมมือเมื่ออาจารย์ถามคำถาม

Teacher  : สอนตรงประเด็นการศึกษา และเข้าใจง่าย ตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมสำหรับแผนการสอนมาล่วงเป็นอย่างดี




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10




บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.



การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย




รูปแบบการจัดการศึกษา
      •  การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
      •  การศึกษาพิเศษ (Special Education)
      •  การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
      •  การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
      •  เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
      •  การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
      •  มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
      •  ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
      •  ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
      •  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
      •  เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
      •  เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)      •  การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
      •  เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
      •  มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
      •  เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
      •  การศึกษาสำหรับทุกคน
      •  รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
      •  จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

Wilson , 2007
      •  การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
      •  การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
      •  กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
      •  เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

"Inclusive Education is Education for all, 
It involves receiving people 
at the beginning of their education, 
with provision of additional services 
needed by each individual"

          สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
                  •  เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
                  •  เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
                  •  เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
                  • การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
                  •  เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
                  •  เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
                  •  ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

          ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                  •  ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ 
                  •  “สอนได้”
                  •  เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

          บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
      •  การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
      •  จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
      •  เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
      •  ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
      •  เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
      •  พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
      •  พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
      •  ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
      •  ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
      •  ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
      •  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
      •  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
      •  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
      •  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
      •  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
      •  ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
      •  ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
      •  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
      •  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
      •  บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
      •  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
      •  ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
      •  พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
      •  การนับอย่างง่ายๆ
      •  การบันทึกต่อเนื่อง
      •  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ 
      •  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
      •  กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
      •  ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
      •  ให้รายละเอียดได้มาก
      •  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
      •  โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
      •  บันทึกลงบัตรเล็กๆ
      •  เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
      •  ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
      •  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
      •  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
      •  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


ทักษะ (Skills)

           -  การสังเคราะห์ข้อมูลความรู้
           -  การคิดและวิเคราะห์
           - การตั้งคำถามและตอบคำถาม
           - ประเมินความรู้ที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้ (Application)

          การเรียนในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตเพื่อเป็นแบบบการจัดห้องเรียนแบบต่างๆในเหมาะสมกับเด็ก
เทคนิคการสอน (Technical Education)

          -  อาจารย์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนกาารสอน
          -  อาจารย์ใช้คำถาม ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อการกระตุ้นให้เด็กเกิดการตื่นตัวอยู่เสมอ
          -  ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

การประเมิน (Evaluation)

Self  :  จดบันทึกตามความรู้ที่ได้รับ และร่วมตอบคำถามในชั้นเรียน

Friends  : ร่วมกันตอบคำถาม สนใจในบทเรียน  ให้ความร่วมมือเมื่ออาจารย์ถามคำถาม

Teacher  : สอนตรงประเด็นการศึกษา และเข้าใจง่าย ตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมสำหรับแผนการสอนมาล่วงเป็นอย่างดี






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9




บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม  พ.ศ. 2559 
เวลา 08.30 - 12.30 น.



"สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะอาจารย์ผู้สอน ได้เฉลยข้อสอบที่ของนักศึกษาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และ ในฐานะของอาจารย์ที่ปรึกษาก็ได้พูดคุยเกี่ยวเรื่อง โรงเรียนที่นักศึกษาจะลงสังเกตการสอน"






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8




บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.



"สัปดาห์นี้ สอบเก็บคะแนนกลางภาคเรียน ของรายวิชา (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย (Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood) จึงไม่มีการเรียนการสอน"



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7




บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 09 มีนาคม  พ.ศ. 2559 
เวลา 08.30 - 12.30 น.


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


8. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)


            •  มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
            •  แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
            •  มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
            •  เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
            •  เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
            •  ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

       ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

              •  ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
              •  ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
              •  ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

       การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

              ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
                     •  ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
                     •  ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
                     •  กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
                     •  เอะอะและหยาบคาย
                     •  หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
                     •  ใช้สารเสพติด
                     • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
               ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
                     •  จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
                     •  ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
                     •  งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

               สมาธิสั้น (Attention Deficit)
                     •  มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
                     •  พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
                     •  มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

               การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
                     •  หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
                     •  เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
                     •  ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก


               ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
                     •  ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
                     •  การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
                     •  การปฏิเสธที่จะรับประทาน
                     •  รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
                     •  โรคอ้วน (Obesity)
                     •  ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)


      ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง                •  ขาดเหตุผลในการคิด
                •  อาการหลงผิด (Delusion)
                •  อาการประสาทหลอน (Hallucination)
                •  พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

      สาเหตุ
                •  ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
                •  ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

      ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก                •  ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
                •  รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
                •  มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
                •  มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
                •  แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
                •  มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
          •  เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
          •  เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity) หรือ ADHD
      ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ                 •  Inattentiveness
                 •  Hyperactivity
                 •  Impulsiveness

       Inattentiveness (สมาธิสั้น)             •  ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
             •  ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
             •  มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
             •  เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
             •  เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

      Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)             •  ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
             •  เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
             •  เหลียวซ้ายแลขวา
             •  ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
             •  อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
             •  นั่งไม่ติดที่
             •  ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

      Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)              •  ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
             •  ขาดความยับยั้งชั่งใจ
             •  ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
             •  ไม่อยู่ในกติกา
             •  ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
             •  พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
             •  ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน

             สาเหตุ
                    •  ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
                    •  ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
                    •  พันธุกรรม
                    •  สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

              ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
                     •  สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก


      ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์              •  อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
              •  ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
              •  ดูดนิ้ว กัดเล็บ
              •  หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
              •  เรียกร้องความสนใจ
              •  อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
              •  ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
              •  ฝันกลางวัน
              •  พูดเพ้อเจ้อ


9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
          •  เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
          •  เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
          •  เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด


ทักษะ (Skills)

           -  การสังเคราะห์ข้อมูลความรู้
           -  การคิดและวิเคราะห์
           - การตั้งคำถามและตอบคำถาม
           - ประเมินความรู้ที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้ (Application)

          หากอนาคตได้มีโอกาสสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ก็จะนำความรู้ในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ให้เหมาสมตามวัยของเด็กได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพที่สุด

เทคนิคการสอน (Technical Education)

          -  อาจารย์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนกาารสอน
          -  อาจารย์ใช้คำถาม ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อการกระตุ้นให้เด็กเกิดการตื่นตัวอยู่เสมอ
          -  ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

การประเมิน (Evaluation)

Self  :  จดบันทึกตามความรู้ที่ได้รับ และร่วมตอบคำถามในชั้นเรียน

Friends  : ร่วมกันตอบคำถาม สนใจในบทเรียน  ให้ความร่วมมือเมื่ออาจารย์ถามคำถาม

Teacher  : สอนตรงประเด็นการศึกษา และเข้าใจง่าย ตรงต่อเวลา เตรียมความพร้อมสำหรับแผนการสอนมาล่วงเป็นอย่างดี




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559 
เวลา 08.30 - 12.30 น.




"สัปดาห์ของการสอบกลางภาคเรียน จึงไม่มีการเรียนการสอน"



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
รายวิชา : (EAED3214) การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน : อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
เวลา 08.30 - 12.30 น.


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  (Children with Learning Disabilities)

            •  เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
            •  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
            •  ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

      สาเหตุของ L.D.
           •  ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
           •  กรรมพันธุ์

          1. ด้านการอ่าน  (Reading Disorder)
                   •  หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
                   •  อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

     ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการอ่าน 
             •  อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
             •  อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
             •  เดาคำเวลาอ่าน
             •  อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
             •  อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
             •  ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
             •  ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
             •  เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

          2. ด้านการเขียน  (Writing Disorder)
                    •  เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
                    •  เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
                    •  เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

     ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการเขียน
             •  ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
             •  เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
             •  เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน  เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
             •  เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
             •  เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
             •  เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
             •  จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
             •  สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
             •  เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
             •  เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
             •  ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

         3. ด้านการคิดคำนวณ  (Mathematic Disorder)
                     •  ตัวเลขผิดลำดับ
                     •  ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
                     •  ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
                     •  แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

     ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการคำนวณ
            •  ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
            •  นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
            •  คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
            •  จำสูตรคูณไม่ได้
            •  เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
            •  ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
            •  ตีโจทย์เลขไม่ออก
            •  คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
            •  ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

          4. หลายๆ ด้านรวมกัน

                      อาการที่มักเกิดร่วมกับ L.D.
                               •  แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
                               •  มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
                               •  เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
                               •  งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
                               •  การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
                               •  สมาธิไม่ดี (เด็ก L.D. ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
                               •  เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
                               • ทำงานช้า
                               •  การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
                               •  ฟังคำสั่งสับสน
                               •  คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
                               •  ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
                               •  ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
                               •  ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
                               •  ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

7. ออทิสติก (Autistic)


          •  หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
          •  เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
          •  ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
          •  ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
          •  เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง

"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"

          •  ทักษะภาษา
          •  ทักษะทางสังคม
          •  ทักษะการเคลื่อนไหว
          •  ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
          •  ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต


      ลักษณะของเด็กออทิสติก
             •  อยู่ในโลกของตนเอง
             •  ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
             •  ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
             •  ไม่ยอมพูด
             •  เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

      ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
             –  ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
             –  ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
             –  ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
             –  ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
      ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
            –  มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
            –  ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
            –  พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
            –  ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
      มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
            –  มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
            –  มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
            –  มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
            –  สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
      พฤติกรมการทำซ้ำ
             •  นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
             •  นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
             •  วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
             •  ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
      พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
             –  ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
             –  การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
             –  การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ


            Autistic Savant
                     •  กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
                     •  กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)


ทักษะ (Skills)

           -  การสังเคราะห์ข้อมูลความรู้
           -  การคิดและวิเคราะห์
           - การตั้งคำถามและตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้ (Application)

          หากอนาคตได้มีโอกาสสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ก็จะนำความรู้ในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนรู้ให้เหมาสมตามวัยของเด็กได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพที่สุด

เทคนิคการสอน (Technical Education)

          -  อาจารย์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนกาารสอน
          -  อาจารย์ใช้คำถาม ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อการกระตุ้นให้เด็กเกิดการตื่นตัวอยู่เสมอ


การประเมิน (Evaluation)

Self  :  จดบันทึกตามความรู้ที่ได้รับ และร่วมตอบคำถาม

Friends  : ร่วมกันตอบคำถาม สนใจในบทเรียน ไม่กดดัน

Teacher  : สอนตรงประเด็นการศึกษา และเข้าใจง่าย ตรงต่อเวลา